สรุปแนวคิดน่าสนใจจากหนังสือ – คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่น

ผู้เขียนเป็นชาวญี่ปุ่นที่โอกาสไปทำงานที่บริษัท (ธนาคาร) แห่งหนึ่งในเยอรมัน และนี่คือเรื่องราวที่เขาเปรียบสไตล์การทำงานของคนเยอรมันและคนญี่ปุ่น บางข้อผมคิดว่าสามารถปรับใช้ที่ไทยได้ดี แต่บางข้อผมก็ไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไร บทที่ 1 – แนวคิดพื้นฐาน ทำไมสถานีรถไฟที่เยอรมันมีเสียงประกาศน้อย บางครั้งคนญี่ปุ่นสร้างกฎระเบียบไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ เราสร้างกฎขึ้นมาแล้วก็แค่ปฏิบัติตาม พอทำตามแล้วก็สบายใจ แต่เราไม่เคยพูดคุยกันเลยว่า กฎนี้เข้ากับสภาพแวดล้อมสังคมหรือไม่? ทำไมต้องสร้างกฎนี้ขึ้นมา? กฎนี้เปลี่ยนแปลงได้หรือไม่? ใช้ชีวิตในแบบของตัวเอง “การทำงานไม่ได้มีเพียงรูปแบบเดียว” คนเยอรมันยืดหยุ่นกับการทำงานค่อนข้างมาก พวกเขาขอแค่ทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จก็พอ ความคิด “พึ่งพาตนเอง เป็นอิสระ” หัวหน้าควรปล่อยให้ลูกทีมคิดเองบ้าง และไม่ต้องให้ลูกทีมรายงานทุกสิ่งอย่าง สภาพแวดล้อมที่ให้ความสำคัญกับอิสระ เป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้ในการเพิ่ม Productivity เทคนิคหลุดพ้นจากอิทธิพลของคนรอบข้าง คนญี่ปุ่นเชื่อว่า “ทำตัวเด่น จะเป็นภัย” แต่คนเยอรมันเชื่อว่า “ไม่ทำตัวเด่น ไม่มีใครเห็นค่า” ขงจื่อเคยกล่าวไว้ว่า “สุภาพชนปรองดองแต่ไม่คล้อยตาม คนต่ำช้าคล้อยตามแต่ไม่ปรองดอง” ก่อนจะทำตามคนอื่น ลองตั้งคำถามดูบ้าง ฉันควรให้ความสำคัญกับอะไร คนเยอรมันเลือกทางเดินชีวิตตั้งแต่ 10 ขวบ คนเยอรมันมี Productivity สูง เพราะระบบการศึกษาและระบบการเข้าทำงาน …

รีวีวหนังสือ – The Little Book of IKIGAI : The Essential Japanese Way to Finding Your Purpose in Life

เย็นวันหนึ่งหลังเลิกงานที่แสนจะเหนื่อยล้า ผมตั้งใจไปที่ร้านหนังสือเจ้าประจำเพื่อหาซื้อนิยายออกใหม่เล่มหนึ่ง เมื่อได้นิยายที่ต้องการแล้ว ก่อนถึงเคาน์เตอร์ชำระเงิน ผมก็บังเอิญไปสะดุดตากับหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า The Little Book of IKIGAI … ก่อนหน้านี้ผมเคยอ่านหนังสือเกี่ยวกับ IKIGAI มาบ้างแล้ว แต่ผมรู้สึกว่าหนังสือเล่มนั้นยังสนองความต้องการใคร่รู้เกี่ยวกับ IKIGAI ของผมไม่มากพอ ดังนั้นเมื่อผมได้เจอกับหนังสือเล่มนี้ ผมจึงหยิบไปจ่ายเงินเพื่อกลับมาอ่านต่อที่บ้านอย่างไม่ลังเล และนี่คือที่มาของหนังสือที่ผมจะมาเล่าให้ฟังกันในวันนี้ครับ   หนังสือเล่มนี้เกี่ยวกับอะไร หนังสือเล่มนี้เขียนโดยชาวญี่ปุ่น อธิบายแนวคิด IKIGAI ไว้ดีมาก ซึ่งมีหลักสำคัญ 5 ประการ คือ เริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ เป็นตัวของตัวเอง เน้นความยั่งยืน และ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ มีความสุขกับสิ่งเล็กๆ อยู่กับปัจจุบัน IKIGAI (生き甲斐) เป็นภาษาญี่ปุ่น เกิดจากการรวมกันของ 2 คำ คือ IKI (生き) แปลว่า ชีวิต GAI (甲斐) …

รีวีวหนังสือ – IKIGAI : The Japanese Secret to a Long and Happy Life

เป็นหนังสือของผู้เขียนชาวยุโรปนามว่า Hector Garcia และ Francesc Miralles พวกเขาเดินทางไปยังหมู่บ้าน Ogimi หมู่เกาะ Okinawa (หมู่เกาะทางใต้สุด) ประเทศญี่ปุ่น หมู่บ้านนี้ได้ชื่อว่า Centenarian Village เพราะเป็นหมู่บ้านที่มีอายุเฉลี่ยของประชากรมากที่สุดในโลก ด้วยความอยากรู้ว่าชาว Ogimi มีเคล็บลับในการมีอายุที่ยืนยาวอย่างมีความสุขและสุขภาพดีได้อย่างไร? เขาทั้งสองจึงได้สัมภาษณ์ชาวบ้าน และเราจะได้รู้ความลับของพวกเขาในหนังสือเล่มนี้ (สาเหตุที่ผมซื้อหนังสือเล่มนี้) จำได้ว่าช่วงนั้นผมไปอ่านเจอบทความเกี่ยวกับ IKIGAI และได้เห็นแผนภาพนี้ ผมก็เลยอยากหาหนังสืออ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ ไปไปมามาก็เจอกับหนังสือเล่มนี้ แต่พออ่านไปเรื่อยๆ จนจบเล่มก็รู้สึกว่า หนังสือเล่มนี้ไม่ได้อธิบายอะไรเกี่ยวกับแผนภาพนี้เลย   เนื้อหาโดยสังเขป หนังสือเล่มนี้ต้นฉบับเป็นภาษาสเปน ตีพิมพ์เมื่อปี 2016 และแปลเป็นภาษาอังกฤษในปี 2017 โดย Heather Cleary หนังสือเล่มนี้มี ประมาณ 180 หน้า ประกอบด้วย 9 บท ได้แก่ (อธิบายเนื้อหาในแต่ละบทคร่าวๆ ไปด้วยเลยนะครับ) …