รีวิวหนังสือ –Talented Genius เผยรหัสลับ DNA คนเก่ง เปลี่ยนตนเองสู่ยอดมนุษย์ Hi-Po

ถ้าจะให้พูดถึงหนังสือเล่มนี้แบบสั้นๆ หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ว่าด้วย คนเก่ง 2020 และทักษะที่ต้องมี เขียน Resume ยังไงให้ถูกเรียกสัมภาษณ์ เคล็ดลับการสัมภาษณ์งานให้ได้งาน หนังสือ Talented Genius เผยรหัสลับ DNA คนเก่ง เปลี่ยนตนเองสู่ยอดมนุษย์ Hi-Po เล่มนี้เป็นหนังสือแนวพัฒนาตนเองที่เขียนโดย Headhunter / Recruiter (คนที่ทำหน้าที่หาคนเก่งไปให้บริษัทที่ต้องการ) ที่ทำงานมากว่า 20 ปี ซึ่งมุมมองที่ได้จะแตกต่างจากหนังสือหลายเล่มที่เขียนโดย เจ้าของธุรกิจ CEO หรือนักวิชาการ หนังสือเล่มนี้เขียนหลังจากเหตุการณ์ โควิด-19 ที่ทำให้หลายๆ องค์กรต้องการคนเก่งมายิ่งขึ้น (และหลายบริษัทก็จำเป็นที่จะต้องลดพนักงานที่ไม่เก่งออกไปเช่นกัน) ว่าด้วยชื่อหนังสือกันสักหน่อยนะครับ คือ ตอนที่ผมเห็นชื่อหนังสือครั้งแรกที่ร้าน นึกในใจเลยว่าชื่อยาวมาก… แต่ผมก็ไปสะดุดตากับ keyword 2 คำ นั่นคือ talented genius และ hi-po Talented genius แปลตรงๆ …

สรุปแนวคิดน่าสนใจจากหนังสือ – Super Productive

จัดกการตัวเอง ถ้าคิดจะทำอะไรใหม่ๆ อย่าคิดเยอะ ถ้าคุณอยากทำอะไรจริงๆ คุณจะมีเวลาทำมันเสมอ อยากทำอะไรก็ทำเถอะ อย่ารอให้แก่แล้วมาคิดว่า “ถ้ารู้งี้” หยุดกังวลเกี่ยวกับสิ่งที่คนอื่นคิดกับคุณ เรามักซีเรียสกับเรื่องที่คนอื่นคิดเกี่ยวกับตัวเรามากเกินไป ความกลัวนี้ทำให้เราไม่สามารถทำในสิ่งที่เราอยากทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เวลาเครียดให้เราหายใจเข้า-ออก ลึกๆ / สร้าง self-awareness หาปรัชญาในการดำเนินชีวิตผ่านคำถามต่อไปนี้ – อะไรคือความเชื่อที่อยู่ในตัวเรา / ใครมึคุณสมบัติตรงกับสิ่งที่เราเชื่อ / คำพูดหรือปัชญาไหนที่เราชอบ เข้าใจนิสัยผลัดวันประกันพรุ่ง หนังสือ – Wait But Why เรื่องราวของลิงและกัปตันเรือ แรงจูงใจในการทำงาน หนังสือ – How will you measure your life Hygiene Factors / Motivation Factors ทำอย่างไรจึงจะเป็นคนที่เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ทันทีที่มหาวิทยาลัยพิมพ์ในปริญญาให้เรา เรื่องที่เรียนมาก็ล้าสมัยไปแล้ว Self-directed Learner เรียนได้ด้วยตนเอง …

สรุปแนวคิดน่าสนใจจากหนังสือ – คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่น

ผู้เขียนเป็นชาวญี่ปุ่นที่โอกาสไปทำงานที่บริษัท (ธนาคาร) แห่งหนึ่งในเยอรมัน และนี่คือเรื่องราวที่เขาเปรียบสไตล์การทำงานของคนเยอรมันและคนญี่ปุ่น บางข้อผมคิดว่าสามารถปรับใช้ที่ไทยได้ดี แต่บางข้อผมก็ไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไร บทที่ 1 – แนวคิดพื้นฐาน ทำไมสถานีรถไฟที่เยอรมันมีเสียงประกาศน้อย บางครั้งคนญี่ปุ่นสร้างกฎระเบียบไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ เราสร้างกฎขึ้นมาแล้วก็แค่ปฏิบัติตาม พอทำตามแล้วก็สบายใจ แต่เราไม่เคยพูดคุยกันเลยว่า กฎนี้เข้ากับสภาพแวดล้อมสังคมหรือไม่? ทำไมต้องสร้างกฎนี้ขึ้นมา? กฎนี้เปลี่ยนแปลงได้หรือไม่? ใช้ชีวิตในแบบของตัวเอง “การทำงานไม่ได้มีเพียงรูปแบบเดียว” คนเยอรมันยืดหยุ่นกับการทำงานค่อนข้างมาก พวกเขาขอแค่ทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จก็พอ ความคิด “พึ่งพาตนเอง เป็นอิสระ” หัวหน้าควรปล่อยให้ลูกทีมคิดเองบ้าง และไม่ต้องให้ลูกทีมรายงานทุกสิ่งอย่าง สภาพแวดล้อมที่ให้ความสำคัญกับอิสระ เป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้ในการเพิ่ม Productivity เทคนิคหลุดพ้นจากอิทธิพลของคนรอบข้าง คนญี่ปุ่นเชื่อว่า “ทำตัวเด่น จะเป็นภัย” แต่คนเยอรมันเชื่อว่า “ไม่ทำตัวเด่น ไม่มีใครเห็นค่า” ขงจื่อเคยกล่าวไว้ว่า “สุภาพชนปรองดองแต่ไม่คล้อยตาม คนต่ำช้าคล้อยตามแต่ไม่ปรองดอง” ก่อนจะทำตามคนอื่น ลองตั้งคำถามดูบ้าง ฉันควรให้ความสำคัญกับอะไร คนเยอรมันเลือกทางเดินชีวิตตั้งแต่ 10 ขวบ คนเยอรมันมี Productivity สูง เพราะระบบการศึกษาและระบบการเข้าทำงาน …