สรุปแนวคิดน่าสนใจจากหนังสือ – Super Productive

จัดกการตัวเอง ถ้าคิดจะทำอะไรใหม่ๆ อย่าคิดเยอะ ถ้าคุณอยากทำอะไรจริงๆ คุณจะมีเวลาทำมันเสมอ อยากทำอะไรก็ทำเถอะ อย่ารอให้แก่แล้วมาคิดว่า “ถ้ารู้งี้” หยุดกังวลเกี่ยวกับสิ่งที่คนอื่นคิดกับคุณ เรามักซีเรียสกับเรื่องที่คนอื่นคิดเกี่ยวกับตัวเรามากเกินไป ความกลัวนี้ทำให้เราไม่สามารถทำในสิ่งที่เราอยากทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เวลาเครียดให้เราหายใจเข้า-ออก ลึกๆ / สร้าง self-awareness หาปรัชญาในการดำเนินชีวิตผ่านคำถามต่อไปนี้ – อะไรคือความเชื่อที่อยู่ในตัวเรา / ใครมึคุณสมบัติตรงกับสิ่งที่เราเชื่อ / คำพูดหรือปัชญาไหนที่เราชอบ เข้าใจนิสัยผลัดวันประกันพรุ่ง หนังสือ – Wait But Why เรื่องราวของลิงและกัปตันเรือ แรงจูงใจในการทำงาน หนังสือ – How will you measure your life Hygiene Factors / Motivation Factors ทำอย่างไรจึงจะเป็นคนที่เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ทันทีที่มหาวิทยาลัยพิมพ์ในปริญญาให้เรา เรื่องที่เรียนมาก็ล้าสมัยไปแล้ว Self-directed Learner เรียนได้ด้วยตนเอง …

สรุปแนวคิดน่าสนใจจากหนังสือ – คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่น

ผู้เขียนเป็นชาวญี่ปุ่นที่โอกาสไปทำงานที่บริษัท (ธนาคาร) แห่งหนึ่งในเยอรมัน และนี่คือเรื่องราวที่เขาเปรียบสไตล์การทำงานของคนเยอรมันและคนญี่ปุ่น บางข้อผมคิดว่าสามารถปรับใช้ที่ไทยได้ดี แต่บางข้อผมก็ไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไร บทที่ 1 – แนวคิดพื้นฐาน ทำไมสถานีรถไฟที่เยอรมันมีเสียงประกาศน้อย บางครั้งคนญี่ปุ่นสร้างกฎระเบียบไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ เราสร้างกฎขึ้นมาแล้วก็แค่ปฏิบัติตาม พอทำตามแล้วก็สบายใจ แต่เราไม่เคยพูดคุยกันเลยว่า กฎนี้เข้ากับสภาพแวดล้อมสังคมหรือไม่? ทำไมต้องสร้างกฎนี้ขึ้นมา? กฎนี้เปลี่ยนแปลงได้หรือไม่? ใช้ชีวิตในแบบของตัวเอง “การทำงานไม่ได้มีเพียงรูปแบบเดียว” คนเยอรมันยืดหยุ่นกับการทำงานค่อนข้างมาก พวกเขาขอแค่ทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จก็พอ ความคิด “พึ่งพาตนเอง เป็นอิสระ” หัวหน้าควรปล่อยให้ลูกทีมคิดเองบ้าง และไม่ต้องให้ลูกทีมรายงานทุกสิ่งอย่าง สภาพแวดล้อมที่ให้ความสำคัญกับอิสระ เป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้ในการเพิ่ม Productivity เทคนิคหลุดพ้นจากอิทธิพลของคนรอบข้าง คนญี่ปุ่นเชื่อว่า “ทำตัวเด่น จะเป็นภัย” แต่คนเยอรมันเชื่อว่า “ไม่ทำตัวเด่น ไม่มีใครเห็นค่า” ขงจื่อเคยกล่าวไว้ว่า “สุภาพชนปรองดองแต่ไม่คล้อยตาม คนต่ำช้าคล้อยตามแต่ไม่ปรองดอง” ก่อนจะทำตามคนอื่น ลองตั้งคำถามดูบ้าง ฉันควรให้ความสำคัญกับอะไร คนเยอรมันเลือกทางเดินชีวิตตั้งแต่ 10 ขวบ คนเยอรมันมี Productivity สูง เพราะระบบการศึกษาและระบบการเข้าทำงาน …

รีวิวหนังสือ – Mindset ใช้ความคิด เอาชนะโชคชะตา (ตอนที่ 3)

บทที่ 7 – พ่อแม่ ครู และโค้ช : กรอบคิดมาจากไหน การชื่นชมสติปัญญาของเด็กเป็นอันตรายต่อแรงจูงใจในการเรียนรู้และผลงานของพวกเขา ถ้าพ่อแม่อยากให้ของขวัญลูก สิ่งที่ดีที่สุดที่พวกเข้าทำได้คือ สอนให้ลูกรักความท้าทาย รู้จักใช้ความผิดพลาดเป็นแรงกระตุ้น สนุกกับการพยายาม และหมั่นเรียนรู้อยู่ตลอด วิธีนี้ช่วยให้ลูกไม่ตกเป็นทาสของคำชม พวกเขาจะรู้จักวิธีสร้างและซ่อมแซมความมั่นใจไปตลอดชีวิต เราสามารถชื่นชมพวกเข้าได้มากเท่าที่ต้องการ ตราบใดที่มันเป็นคำชมเรื่องกระบวนการที่เน้นการพัฒนา ซึ่งหมายถึงสิ่งที่พวกเขาทำสำเร็จด้วยการฝึกฝน การศึกษา ความุ่งมั่น และการมีกลยุทธ์ที่ดี “จงปกป้องพวกเขาจากความล้มเหลว” ถึงแม้มันอาจจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องความผิดหวังของเด็กๆ ได้ในทันที แต่มันก็เป็นอันตรายในระยะยาว เด็กๆ จำเป็นต้องได้ข้อมูลป้อนกลับที่จริงใจและเป็นไปในเชิงสร้างสรรค์ ถ้าเด็กๆ ถูกปกป้องจากข้อมูลป้อนกลับเหล่านี้ พวกเขาจะเรียนรู้ได้ไม่ดีนัก จำไว้ว่าอย่าตัดสิน แต่จงสอน เพราะมันเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างหนึ่ง เรามักคิดว่าการใช้ความรุนแรงจะถูกส่งต่อไปยังคนอื่นก็ต่อเมื่อเหยื่อของความรุนแรงนั้นเติบโตไปเป็นพ่อแม่ แต่จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า เด็กเรียนรู้บทเรียนตั้งแต่เล็กและลงมือทำตามนั้น ครั้งต่อไปที่ต้องลงโทษลูกๆ ให้คุณถามตัวเองก่อนว่า อะไรคือสารที่ฉันกำลังจะส่งออกไป ฉันจะตัดสินและลงโทษลูก หรือจะช่วยให้ลูกรู้จักคิดและเรียนรู้ นักศึกษาที่ประสบความสำเร็จคือคนที่มีเป้าหมายหลักเป็นการขยายขอบเขตองค์ความรู้ รวมถึงวิธีคิด และวิธีสำรวจโลกใบนี้ พวกเขาไม่ได้มองว่าคะแนนคือจุดสิ้นสุดของอะไรบางอย่าง แต่มองว่ามันคือสิ่งที่จะช่วยให้พวกเขาพัฒนาตนเอง “ครูที่ดีคือครูที่ยังเรียนรู้ไปพร้อมกับนักเรียน” ในแต่ละวัน …

รีวิวหนังสือ – Mindset ใช้ความคิด เอาชนะโชคชะตา (ตอนที่ 2)

บทที่ 4 – กีฬา : กรอบคิดของผู้ชนะ คุณสมบัติที่ฮีโร่ควรมี คือ เมื่อเขา/เธอพ่ายแพ้ จะรู้สึกหวาดหวั่น แต่จากนั้นก็จะลุกขึ้นสู้ และคว้าชัยชนะได้ในที่สุด ไม่มีใครคิดว่า ตัวเองเป็นคนพิเศษที่เกิดมาเป็นผู้ชนะ พวกเขาคือคนที่ฝึกฝนอย่างหนัก เรียนรู้วิธีรักษาสมาธิภายใต้แรงกดดัน และท้าทายตัวเองให้ทำสิ่งที่เกินความสามารถปกติเมื่อถึงยามจำเป็น คนที่มีกรอบคิดแบบพัฒนาได้มองว่า ความสำเร็จมาจากการพยายามอย่างเต็มที่ การเรียนรู้ และการพัฒนาตนเอง คนที่มีกรอบคิดแบบพัฒนาได้มองว่า ความล้มเหลวเป็นแรงจูงใจ เป็นข้อมูล และเป็นคำเตือน คนที่มีกรอบคิดแบบพัฒนาได้ จะทำตามกระบวนการที่ก่อให้เกิดและคงไว้ซึ่งความสำเร็จ (ระเบียบวินัย) การเป็นคนดัง/ดาวเด่น ไม่ได้ตัดสินกันที่ผมแพ้ชนะ แต่เป็นการสู้ด้วยทุกสิ่งที่ตัวเองมี บทที่ 5 – ธุรกิจ : กรอบคิดกับความเป็นผู้นำ นักวิจัยมองเห็น “ทิฐิ” ในตัวผู้นำมากกว่า 2 ใน 3 จากทั้งหมด ทิฐินี้ทำให้บริษัทล่มสลายนเร็วขึ้น หรือทำให้บริษัทชั้นนำกลายเป็นบริษัทชั้นรอง โรคซีอีโอ คือ อันตรายจากกรอบคิดแบบตายตัวที่ทำให้พวกเขารับรู้แต่เรื่องดีๆ เกี่ยวกับความสำเร็จของบริษัท …