รีวิวหนังสือ – Wealth Design (by SET)

ผมได้หนังสือเล่มนี้จากการเข้าร่วมงาน SET in the city 2019 ซึ่งเป็นงานออกบูทของบริษัทหลักทรัพย์ หุ้นและกองทุนต่างๆ งานจัดที่สยามพารากอน

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือแจกฟรีสำหรับผู้ที่ลงทะเบียนเข้างานล่วงหน้าทางออนไลน์ เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้น 10 เรื่อง จากนักวางแผนการเงิน (CFP) 10 คน หนังสือเล่มบาง หนาแค่ 70 หน้า อ่านจริงจัง 1-2 ชั่วโมงก็น่าจะจบ ผมเห็นว่าเนื้อหาข้างในนั้นน่าสนใจ จึงอยากจะมาแชร์เนื้อหากันครับ

Wealth Design (by SET) contents
Wealth Design (by SET) contents

ตอนที่ 1 – กล่าวถึงความสำคัญของการวางแผนการเงิน ว่ามันสำคัญนะ !!! 

ตอนที่ 2 – ความมั่งคั่ง = ทรัพย์สิน – หนี้สิน

หารายได้ (ควบคุมรายจ่าย) / รู้จักเก็บออม / นำเงินส่วนที่เหลือไปลงทุน

ตอนที่ 3

ตัวช่วยตัวหนึ่งในการออมเพื่อวัยเกษียณคือ RMF (กองทุนรวมเพื่อการเกษียณ) และ PVD (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ)

การกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน SMART

  • Specific = ชัดเจน
  • Measurable = วัดเป็นตัวเลขได้
  • Achievable = สามารถบรรลุผล/ทำสำเร็จได้
  • Realistic = มีความเป็นไปได้/ ทำได้จริง
  • Time bound = มีกำหนดเวลา

ตอนที่ 4 – การทำประกัน

ช่วงอายุ 21-30 ปี – ควรทำประกันแบบสะสมทรัพย์ และ ประกันอุบัติเหตุ

ช่วงอายุ 31-50 ปี – ควรทำประกันตลอดชีพและแบบชั่วระยะเวลา เพื่อสร้างความคุ้มกันให้เพียงพอ (ตามภาระของแต่ละคน)

ช่วงอายุ 51 ปีขึ้นไป – ควรทำประกันสุขภาพ

ตอนที่ 5 ถ้าคิดจะอยู่เป็นโสด มีวิธีการบริหารเงินดังนี้

  • รู้จักไลฟ์สไตล์ของตนเอง
  • มีเงินสำรองฉุกเฉิน
  • มีแผนเกษียณที่ชัดเจน
  • วางแผนรับมือค่ารักษาพยาบาล

สำหรับการลงทุนวัยเกษียณมีปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงมากขึ้นคือ

  • เอาชนะเงินเฟ้อ
  • ดูแลเงินต้น
  • สภาพคล่องดี

ตอนที่ 6 ลงทุนให้เหมาะสมกับวัฏจักรเศรษฐกิจ

  • เศรษฐกิจฟื้นตัว/ขยายตัว = ลงทุนระยะยาว/ลงทุนในหุ้น (เป็นช่วงที่ดีในการลงทุน)
  • เศรษฐกิจรุ่งเรือง = ลดน้ำหนักการลงทุน
  • เศรษฐกิจชะลอตัว/ถดถอย = (ระมัดระวังการลงทุน)
  • เศรษฐกิจตกต่ำ = (ไม่ควรลงทุน)

** หมั่นปรับพอร์ตการลงทุนอยู่เสมอ ตามช่วงเวลา หรือเมื่อถึงเป้าหมายแล้ว

ตอนที่ 7 เทคโนโลยีด้านการลงทุน

จากประสบการณ์ของผม โบรกเกอร์หลายเจ้ามี Robot/AI ด้านการลงทุนให้บริกาา แต่รายละเอียดค่อนข้างแตกต่าง ผู้สนในควรไปปรึกษาที่โบรกเกอร์โดยตรงครับ

ตอนที่ 8 เทคนิควางแผนภาษี

สำหรับมนุษย์เงินเดือน

  • พิจารณาทางเลือกการหักค่าใช้จ่าย
  • พิจารณาการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีต่างๆ
  • * เมื่อซื้อผลิตภัณฑ์ที่ใช้ลดหย่อนภาษี ให้ศึกษาสิทธิประโยชน์และเงื่อนไขให้ดี
  • ** กรณีได้เงินปันผล (จากการลงทุนในหุ้น) อย่าลืมศึกษาเรื่องเครดิตภาษีด้วยนะ
  • *** ถ้าระหว่างปี ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย มากกว่า ภาษีที่ต้องจ่าย อย่าลืมยื่นขอคืนภาษีนะ

สำหรับผู้มีอาชีพอิสระ

  • ประมาณการรายได้และรายจ่าย
  • สำรองเงินที่ต้องชำระภาษีไว้ด้วย
  • พิจารณารูปแบบการประกอบธุรกิจ

สำหรับผู้ประกอบการ

  • พิจารณาว่าเข้าเงื่อนไขที่จะได้รับการส่งเสริมการลงทุนหรือไม่
  • พิจารณาการหักค่าใช้จ่ายที่หักได้มากกว่าปกติ
  • หักค่าใช้จ่ายในรูปของค่าเสื่อมราคาหรือค่าเช่า
  • แยกบัญชีส่วนตัวออกจากบัญชีบริษัท

ตอนที่ 9 เกษียณ

สิ่งที่เปลี่ยนไปในวัยเกษียณ

  1. รายได้หายไป แต่รายจ่ายยังเหมือนเดิม (ต้องควบคุมรายจ่ายให้ดี)
  2. ถ้าเป็นไปได้อยากให้ผู้เกษียณปลดหนี้ให้หมดก่อนเกษียณ (ไม่ควรมีหนี้ในวัยเกษียณแล้ว)
  3. สำรองเงินสำหรับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ (การดูแลสุขภาพให้ดีก็เป็นสิ่งสำคัญ)
  4. เตรียมเงินไว้สำหรับเป้าหมายที่ยังอยากทำให้สำเร็จ
  5. อย่าลืมวางแผนมรดก

ตอนที่ 10 เป็นเช็คลิสต์ว่าแต่ละเดือน เราควรทำอะไรบ้าง (จริงๆ ไม่ต้องตามนี้เป๊ะๆ ก็ได้ครับ ดูไว้เป็นแนวทาง

  • ม.ค. – อัพเดตรายการทรัพย์สิน หนี้สิน
  • ก.พ. – เตรียมยื่นภาษีประจำปี
  • มี.ค. – อัพเดตรายการประกันต่างๆ
  • เม.ย. – ตรวจสอบพอร์ตเพื่อการเกษียณ
  • พ.ค. – จัดทำแผนเก็บออมเงินและการลงทุน
  • มิ.ย. – ตรวจสอบเครดิตบูโร
  • ก.ค. – อัพเดตพอร์ตการลงทุนครึ่งปี
  • ส.ค. – เตรียมยื่นภาษีครึ่งปี (กรณีมีรายได้ประเภท 5-8)
  • ก.ย. – ตรวจสอบและประมาณการรายจ่าย
  • ต.ค. – * ตรวจสุขภาพร่างกาย
  • พ.ย. – ตั้งเป้าหมายและทบทวนแผนการเงิน
  • ธ.ค. – ตรวจสอบรายการลดหย่อนภาษี

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *